วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เค้าโครงเสนอโครงงานการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก เรื่อง หลักการเบื้องต้นของโครงงานคอมพิวเตอร์

ชื่อ โครงงาน การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อกเกอร์ 
                                               
                            เรื่อง หลักการเบื้องต้นของโครงงานคอมพิวเตอร์

รายชื่อผู้จัดทำโครงงาน

1.นายจักรพงศ์  ศรีวะสุทธิ์             เลขที่ 1
2.นายพงษธร  ศรีชุม                     เลขที่  6
3.นายอาทิตย์  มาลินทา                เลขที่  11
4.นางสาวณัฐฐาภรณ์  ทองน้อย    เลขที่   17
5.นางสาวพรพิมล  บุญบรรลุ          เลขที่  22
6.นางสาวสุภาวิตา  มีไชย              เลขที่ 27
7.นางสาวสรินญา  อินทนาม          เลขที่  32                                       8.นางสาวจริยา  แสนสุข                เลขที่ 37

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/6

                               กำลังศึกษาอยู่โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/6 
                               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ยโสธร-ศรีสะเกษ เขต 28

อาจารย์ที่ปรึกษา  นายณัฐวุฒิ   ศรีระโคตร 

 ความสำคัญ

        โครงงานคอมพิวเตอร์ คือ ผลงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าตามความสนใจความถนัดและความสามารถของผู้เรียน โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์โครงงานจึงเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยผู้เรียนจะหาหัวข้อโครงงานที่ตนเองสนใจ รวมทั้งเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆและความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างผลงานตามความต้องการได้อย่างเหมาะสมโดยมีครูเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ
ความสามารถที่เกิดจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ประการ ดังนี้
1.ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถที่เกิดจากการที่นักเรียนเป็นผู้ทำโครงงานต้องนำเสนอผลงานให้ครูและเพื่อนนักเรียนให้เข้าใจโครงงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นผู้ทำโครงงานต้องสื่อสารความคิดในการสร้างสรรค์โครงงานด้วยการเขียนหรือด้วยปากเปล่ารวมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อนำเสนอแนวคิดในการจัดโครงงานให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
2.ความสามารถในการคิด ซึ่งผู้เรียนจะมีการคิดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
  1. การคิดวิเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องวิเคราะห์ปัญหาและแยกแยะสาเหตุว่าเกิดเนื่องจากอะไร
  2.  การคิดสังเคราะห์ เกิดจากการที่ผู้เรียนต้องนำความรู้ต่าง ๆ ที่เรียนมารวมทั้งความรู้จากการค้นหาข้อมูลเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์โครงงาน
  3. การคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดจากการที่ผู้เรียนนำความรู้มาสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ
  4. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดจากการที่ผู้เรียนได้มีการคิดไตร่ตรองว่าควรทำโครงงานใดและไม่ควรทำโครงงานใด เนื่องจากโครงงานที่สร้างขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เช่นโครงงานระบบคำนวณเลขหวยสำหรับหาเลขที่คาดว่าสลากกินแบ่งรัฐบาลจะออกในแต่ละงวดอาจส่งผลกระทบต่อสังคมทำให้คนในสังคมเกิดความหมกมุ่นในกับการใช้เงินเล่นหวยมากขึ้น
  5. การคิดอย่างเป็นระบบ เกิดจากการที่ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนโดยใช้ขั้นตอนในการพัฒนาโครงงาน คือ ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้า เก็บรวบรวมข้อมูล พัฒนา หรือประดิษฐ์คิดค้นผลงานรวมทั้งการสรุปผลและการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยมีผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3.ความสามารถในการแก้ปัญหา เกิดจากการที่ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
4.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เกิดจากการที่ผู้เรียนได้นำความรู้และกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการพัฒนาโครงงานและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาโครงงานก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
5.ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เกิดจากการที่ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหาได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม และมีคุณธรรม

จุดประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าหรือการทำงานวิจัยเล็ก ๆ ของนักเรียน
2. เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจค้นคว้า หรือประดิษฐ์ผลงานอันจะเป็นประโยชน์และคุณค่าทางวิชาการต่อไป
3. เพื่อให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะเสนอและผลิตผลงานด้วยความรู้ของตนเอง
4. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติและเห็นคุณค่าในการเรียนรู้และภูมิใจในผลงานของตน
5. เพื่อให้นักเรียนเห็นแนวทางการประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวัน
วิธีการดำเนินการ
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
          2. 
ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล
          3. 
จัดทำเค้าโครงของโครงงาน
          4. 
การลงมือทำโครงงาน
          5. 
การเขียนรายงาน
          6. 
การนำเสนอและแสดงโครงงาน

วิธีดำเนินการ
1.
2.
3.
4.
5.
6.

สัปดาห์ที่
รายการกิจกรรม
จำนวนคาบปฏิบัติ
หมายเหตุ
1



2



3



4



5




ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.
2.
3.



การประเมินผล

ขั้นตอนปฏิบัติงาน

ผลการปฏิบัติงาน
ปัญหา/อุปสรรค/
ข้อบกพร่องในการปฏิบัติงาน
แนวทางการแก้ไข
          ปรับปรุงพัฒนาโครงงาน

ได้
ไม่ได้





























สรุปความคิดเห็น .....................................................................................................................................................................................................................

                                  ลงชื่อ.................................................................... ผู้ประเมิน